วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
เวลาเรียน 8.30-12.20


การเรียนการสอนวันนี้ 

กรอบมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์













สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

ใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ การอ่านและการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับ  จำนวน การคิด และการแยกกลุ่ม 







สาระที่ 2 : การวัด

เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา








การตวงเพื่อวัดปริมมาตร  การชั่งของเด็กจะไม่มีหน่วย แต่เป็นการเปรียบเทียบความหนัก
หรือความเบา รู้จักค่าของเงินเหรียญ แลัธนบัตร บอกช่วงเวลาในแต่ละวัน ชื่อวัน ในสับปดาห์
และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน  เช่น วันนี้ พรุ้งนี้ เมื่อวาน 


สาระที่ 3 : เรขาคณิต


สาระที่ 4 : พีชคณิต

สาระที่5 : การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น 

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 





กิจกรรมวันนี้ 


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

สามารถนำรูปทรงเลขาคณิตต่างๆมาประยุกต์ใช้เป็นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ฝึกการคิดและจินตนาการเกี่ยวกับการต่อยอดจากรูปทรงเลขาคณติ

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5



  • วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันพ่อแห่งชาติ
     5 ธันวาคม 2556


    

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
เวลาเรียน 8.30-12.20

การเรียนการสอนวันนี้

วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำแล้วนะเสนอหน้าห้องเรียน มีทั้งหมด 5กลุ่มและอาจารย์ก็แจกใบประเมินเพื่อนๆและให้คะแนนแต่ละกลุ่มด้วย

มีทั้งหมด 5 กลุ่มดังนี้

1.จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด (กลุ่มของเราเอง ^^)
3. พีชคณิต
4.เรขาคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



วันนี้ทุกกลุ่มได้เตรียมสิ่งที่ตัวเองได้รับมอบหมายมานำเสนอครบทุกกลุ่มเลยมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้รับกันทุกคนมีการแบ่งหน้าที่การทำงานทุกคนค่ะ


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

-วันนี้อาจารย์ได้แนะนำเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอรายงายว่าเราควรเพิ่มเติมอะไรไปบ้าง
       -กลุ่มของเราต้องไม่อ่านโพยกระดาษจนมากเกินไปควรเตรียมตัวมาให้พร้อมกว่านี้
       -พูดให้ช้าและชัดกว่านี้หน่อยเพื่อนบอกว่าเราพูดเร็วเกินไป (พอดีพึ่งไปถอนฟันมา 555)
-ได้ทักษะการทำเพาเวอร์มากขึ้นจากการที่เราได้ดูของเพื่อนๆ ภาพเคลื่อนไหวก็ไม่ควรใส่จนมากเกินไป
  เพราะมันจะดึงความสนใจจากเนื้อหาสะมากกว่าสวยงาม
-ต้องมีการร่วมมือช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม
-และต้องใจฟังเพื่อนๆรายงานน่าห้องมากกว่านี้เพราะนั่งข้างหลังเพื่อนๆชอบคุยกันเลยพาให้ฟังเพื่อนไม่รู้เรื่อง 


วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
เวลาเรียน 8.30-12.20



  การเรียนการสอนของวันนี้

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 - สอนให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 - สอนพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 - สอนให้เด็กรู้จักหาคำตอบ

ทักษะพื้นฐาน

 1.การสังเกต
   - การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่าง
2. การจำแนกประเภท
   - การแบ่งสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์
3. การเปรียบเทียบ
4. การจัดลำดับ
   - เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
5. การวัด
   - มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   - การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยได้แก่ การวัดอุณหภูมิ  เวลา ระยะทาง  ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
6. การนับ
   - เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมายการนับท่องจำนี้
7. รูปทรงและขนาด
   - เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เรื่องรูปทรงก่อนเข้าเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์


เลข -  น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
ขนาด - ใหญ่  คล้าย  สองเท่า  ใหญ่ที่สุด  สูง เตี้ย
รูปร่าง -  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม  ยาว  โค้ง  สั้นกว่า


    
กิจกรรมวันนี้

อาจารย์ให้นักเรียนวาดวงกลม 1 วงแล้วเขียนเลยที่ตัวเองชอบลงไปในวงกลม แล้วแจกกระดาษสีคนละ 1 แผ่น จากนั้นให้ตัดเป็นกลีบดอกไม้ตามจำนวนตัวเลขที่เขียนในวงกลมและตกแต่งให้สวยาม
                                                            


ความรู้ที่ได้รับและการประยุกต์ใช้

-ได้รู้ว่าจุดมุ่งหมายทางคณิตศาสตร์ต้อมมีอะไรบ้าง
-ทักษะทางคณิตศาสตร์พื้นฐานนั้นเป็นอย่างไร
-คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กนั้นมีอะไรบ้าง
-ได้รู้จักการนำตัวเลขมาประยุกต์ใช้ให้เชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆอย่าสนุกสนาน





วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2


การเรียนในวันนี้
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
- ให้เด็กรู้จักคิดหากระบวนการการหาคำตอบ
- ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
- ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าคำตอบด้วยตนเอง


ทักษะการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- การสังเกต ( Opservation )
- การจำแนกประเภท ( Classifying )
- การเปรียบเทียบ ( Comparing )
- การจัดลำดับ ( Ordering )
- การจัด ( Mersurement )
- รูปทรงและขนาด ( Sharp and Size )


คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์


- ตัวเลข - น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
- ขนาด - ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูงเตี้ย
- รูปทรงรูป - สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง
- ที่ตั้ง - บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
- ค่าเงิน - สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
- อุณหภูมิ - เย็น ร้อน เดือด อุ่น




กิจกรรมที่ทำในวันนี้

                  วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้กับนักศึกษาคนละแผ่น เพื่อที่จะให้วาดรูป โดยอาจารย์ได้กำหนดให้วาดรูปวงกลมขนาดเท่ากัลลูกปิงปอง1รูป และให้นักศึกษาเขียนจำนวนตัวเลขที่เราชอบ1ตัวเลข ลงไปในวงที่เราวาดเอาไว้ หลังจากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษสีให้กับนักศึกษา เพื่อที่จะให้นำไปตัดให้เป็นกลีบดอก ตามจำนวนที่เราเขียนลงไป

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 1

  การเรียนในวันนี้   ความหมายของคณิตศาสตร์  หมายถึง ระบบการคิดของมนุษย์ ศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลขการวัด เรขาคณิต พืชคณิต หรือรูปแบบความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์


ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผล
- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor) แรกเกิด-2 ปี
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational) อายุ 2-7 ปี



การอนุรักษ์ เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
- การนับ
- การจับคู่หนึ่งต่อเนื่อง
 - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
- การเรียงลำดับ
- การจัดกลุ่ม